นักวิทย์ญี่ปุ่น ใช้สาหร่ายเก็บทองคำใต้ทะเล

นักวิทย์ญี่ปุ่น ใช้สาหร่ายเก็บทองคำใต้ทะเล

ทองคำนั้นมีอยู่โดยทั่วไปแม้แต่ในร่างกายของมนุษย์ก็มีอณุภาคทองคำอยู่ประมาณ 0.2 มิลลิกรัม แต่สิ่งที่ทำให้ทองคำมีราคาสูงมากเนื่องมาจากความยากในการรวบรวมอนุภาคของทองคำจำนวนน้อยเหล่านั้นให้ออกมาทำให้เป็นชิ้นของทองคำซึ่งเราสามารถจับต้องได้

จากค่าเฉลี่ยของเหมืองทองแหล่งใหญ่หลากหลายแห่งทั่วโลกพบว่าต้องนำหินหรือดินน้ำหนักรวมกันประมาณ 20 ตัน ไปถลุงจึงจะได้ทองคำขนาด 1 ออนซ์ หรือประมาณ 28 กรัม เทียบได้กับเกลือปริมาณ 5 ช้อนชาเท่านั้น
ส่วนปริมาณทองคำในโลกจะมีอยู่ทั้งหมดประมาณ 244,000 ตันเท่านั้น และจะไม่มีมากไปกว่านี้เพราะแร่ทองคำไม่สามารถเกิดขึ้นเองได้บนโลก เนื่องจากไม่มีความร้อนและความดันมากพอที่จะเกิดปฏิกริยาตามธรรมชาติจนทำให้แร่ชนิดอื่นใดกลายเป็นแร่ทองคำขึ้นมาได้

จากข้อมูลของสภาทองคำโลกประมาณไว้ว่ามนุษย์ได้ถลุงทองคำออกมาแล้วกว่า 197,000 ตัน เหลือสำรองอยู่เพียง 57,000 ตันเท่านั้นที่มนุษย์มีความสามารถจะขุดขึ้นมาได้

แต่ยังมีแหล่งทองคำอีกแห่งซึ่งเคยเชื่อกันว่าเกินความสามารถของมนุษย์ที่จะนำทองคำออกมาได้ นั่นคือมหาสมุทรที่ปกคุลมพื้นผิวโลกอยู่กว่า 3 ใน 4 ส่วน โดยประมาณการกันไว้ว่าอาจมีทองคำปะปนอยู่ในน้ำของมหาสมุทรทั่วโลกรวมกันถึง 20 ล้านตัน

ในประวัติศาสตร์มนุษย์นั้นมีบันทึกถึงความพยายามหาทองจากแหล่งน้ำ เช่น การร่อนทองในแม่น้ำหรือลำธาร มานานหลายพันปีแล้ว ถึงแม้จะมีอัตราความสำเร็จอยู่บ้าง แต่การหาทองจากน้ำในมหาสมุทรอันกว้างใหญ่นั้นเป็นเรื่องที่ใหญ่กว่าและอัตราความสำเร็จเมื่อเทียบกับต้นทุนที่ต้องใช้นั้นต่างกันมาก
แต่มนุษย์ก็ยังไม่เคยลดละความพยายามในการแสวงหาทองคำ ในขณะที่ราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องกว่า 10 เท่าตัวมาตลอด 50 ปี และยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่เนื่องในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย และยังคงยืนหนึ่งในการหลักประกันความมั่งคั่งของฐานะทางการเงินในประเทศต่างๆ ทั่วโลก

เมื่อเดือน มิ.ย. ที่ผ่านมานักวิทยาศาสตร์ญี่ปุ่นประสบความสำเร็จในการดักจับทองคำขึ้นมาจากใต้ท้องทะเล โดยนำแผ่นวัสดุที่ทำมาจากสาหร่ายชนิดหนึ่งซึ่งมีคุณสมบัติในการดูดซับโลหะไปวางไว้บริเวณใกล้ปล่องน้ำร้อนใต้ทะเล

สาหร่ายทะเลจัดเป็นสิ่งมีชีวิตที่ไม่จัดว่าเป็นทั้งพืชและสัตว์ไม่มีส่วนที่เป็นราก ลำต้น และใบที่แท้จริง มีขนาดตั้งแต่เล็กมากมีเซลล์เดียว ไปจนถึงขนาดใหญ่ที่ประกอบด้วยเซลล์จำนวนมาก อาจเป็นเส้นสายหรือมีลักษณะคล้ายพืชชั้นสูงก็มี

คุณสมบัติอย่างหนึ่งของสาหร่ายคือสามารถดักจับแร่ธาตุที่ละลายอยู่ในน้ำรวมไปถึงโลหะหนักขนิดต่างๆ ได้ไม่ว่าจะเป็น ตะกั่ว ทองแดง หรือสารหนู ในอุตสหกรรมแปรรูปสาหร่ายเพื่อนำมาบริโภคจึงต้องมีกระบวนการขจัดโลหะเป็นพิษเหล่านี้ออกไปก่อน

นักวิทยาศาสตร์ญี่ปุ่นจึงนำคุณสมบัตินี้ของสาหร่ายมาพัฒนาเป็นแผ่นวัสดุพิเศษและนำไปวางไว้ในบริเวณที่พบว่ามีแร่ทองคำปะปนอยู่ในปริมาณมากอย่างปล่องน้ำร้อน หรือภูเขาไฟใต้ทะเลเป็นระยะเวลาหนึ่ง จากนั้นจึงนำแผ่นดักจับดังกล่าวไปเผาไฟ ตัววัสดุก็จะถูกเผาไหม้หายไปเหลือไว้เพียงเกล็ดแร่ทองคำ

ทางกลุ่มผู้วิจัยเชื่อว่าวัสดุนี้สามารถถูกพัฒนาต่อยอดได้อีกอย่างหลากหลายเพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับปล่องน้ำร้อนทั้งใต้น้ำและบนพื้นดิน รวมไปถึงน้ำเสียจากจากแหล่งรีไซเคิลอุปกรณ์ไฟฟ้า เพื่อนำทองคำกลับมาใช้ใหม่ได้อีกครั้ง แต่ต้นทุนในการผลิตวัสดุนี้ยังคงแพงอยู่มาก เหมืองทองคำใต้ทะเลจึงยังไม่อาจเกิดขึ้นได้ในอานคตอันใกล้นี้

สนใจ “สมัครสมาชิก” ออมทอง
คลิกที่นี่: https://bit.ly/3y5uxmO
ปรึกษาฟรี โทร. 02-178-9997

หน้าหลัก ปรึกษาฟรี! คลิกที่นี่ เมนู